Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม (Word Class Standard)

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แหล่งที่มาของข้อมูลในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จะเก็บรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะได้จากแหล่งของข้อมูล 2 ประเภทด้วยกันคือ
        3.1 แหล่งของข้อมูลชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary sources) เป็นแหล่งของข้อมูลที่ผู้วิจัยได้จากหลักฐานเดิมหรือหลักฐานที่เป็นต้นตอ โดยผู้วิจัยเป็นผู้สังเกตการณ์ที่บันทึกโดยตรงหรือเป็นข้อมูลที่ได้จากคำบอกเล่า การบันทึกหรือรายงานของคนที่มีส่วนร่วมหรือเป็นพยานในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นั้น แหล่งของข้อมูลชั้นต้น ได้แก่

        1) เอกสารต่าง ๆ (Documents) หรือบันทึกที่รายงานโดยผู้อยู่ในเหตุการณ์หรือเป็นพยานของเหตุการณ์ ข้อมูลชั้นต้นที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่
            - เอกสารหรือบันทึกของทางราชการ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการเสียภาษี กฎหมายต่าง ๆ ประกาศ ระเบียบ สถิติต่าง ๆ ประกาศนียบัตร คำพิพากษา คำให้การ สารตรา โฉนด ใบอนุญาต ใบรับรอง เป็นต้น
            - เอกสารหรือบันทึกของคนในสมัยนั้น เช่น จดหมาย จดหมายเหตุ ไดอารี สัญญาต่าง ๆ พินัยกรรม หนังสือ จุลสาร เรื่องราวในหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ บันทึกของสำนักงาน อัตชีวประวัติ คำสอน งานวิจัย เป็นต้น
            - หลักฐานทางภาพและเสียงในประวัติศาสตร์ เช่น ภาพนิ่ง ภาพยนตร์ ภาพถ่าย ภาพวาด แผนที่ แผนภูมิ เทปบันทึกเสียง เป็นต้น

        2) ซากโบราณวัตถุ (Remains or Relics) ได้แก่ ซากสิ่งปรักหักพัง ซากพืช ซากสัตว์ที่กลายเป็นหิน โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ ภาพชนะ อาวุธ เครื่องประดับ เครื่องตกแต่ง ถ้วย โล่ เสื้อผ้า เหรียญต่าง ๆ เหรียญตรา อาคาร อนุสาวรีย์ เป็นต้น แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นหลักฐานที่ชี้บ่งถึงการดำเนินชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมของคนในสมัยนั้นด้วย

        3) คำให้การหรือหลักฐานทางคำพูด (Oral testimony) ได้แก่ เรื่องที่พูดโดยพยานหรือผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์

        3.2 แหล่งของข้อมูลชั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary sources) เป็นแหล่งของข้อมูลที่ได้จากรายงาน หรือถ่ายทอดมาจากข้อมูลชั้นต้น หรือข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลหรือหลักฐานนั้นถูกรายงานโดยผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมหรือเป็นพยานในเหตุการณ์นั้น ผู้เขียนจะรายงานหรือถ่ายทอดในสิ่งที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์พูด หรือเขียน หรือถ่ายทอดในลักษณะต่าง ๆ ไว้ หรืออาจจะถ่ายทอดมาหลายทอดก็ได้ ดังนั้นการนำมาใช้ในการวิจัยจึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ แหล่งของข้อมูลชั้นรองได้แก่ ตำราเรียนทางประวัติศาสตร์ หนังสือพงศาวดาร วารสาร สารานุกรม เป็นต้น

        โดยทั่วไปแล้ว นักประวัติศาสตร์ นักวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ มักจะใช้ข้อมูลชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ เพราะมีความเชื่อถือได้มากกว่าและจะใช้ข้อมูลชั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิก็ต่อเมื่อไม่สามารถจะหาข้อมูลชั้นต้นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น