Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม (Word Class Standard)

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์


    วิธีการทางประวัติศาสตร์ กับวิธีการทางประวัติศาสตร์ มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน และมีบทส่วนแตกต่างกันดังนี้

     1. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีการกำหนดประเด็นปัญหาเพื่อสืบค้นหาคำตอบ เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการสร้างสมมติฐานขึ้นแล้วทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนั้น

     2. วิธีการทางวิทยาศาตร์ใช้วิธีการสร้างสถานการณ์ใหม่หรือ ทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น แต่นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถสร้างสถานการณ์ขึ้นใหม่เหมือนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีตได้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นคร้งเดียว มีลักษณะเฉพาะ

และไม่สามารถสร้างขึ้นซึ่งได้อีก แต่นักประวัติศาสตร์จะรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานอย่างหลากหลายตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐาน จนกระทั่งได้ข้อมูลที่จะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถอธิบายและสรุปหลักการได้

     3. การนำเสนอผลงานของนักวิทยาศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ก็อาศัยหลักการความเป็นไปได้มาคาดคะเน และสรุปผลเช่นกัน แต่ผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ จะสามารถนำไปทดลองซ้ำ ๆ ก็จะได้ผลเช้นนั้นทุกครั้ง แต่ผลสรุปทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถนำไปลดทองได้ และมีความแตกต่างที่เป็น มิติของเวลา เช่นเดียวกับศาสตร์ทางสังคมอื่น ๆ ที่ไม่สามรารถควบคุมปัจจัยท่เป็นตัวแปลได้ทั้งหมด

    4. ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถนิยามคำเฉพาะเพราะความหมายจะไม่ชัดเจนตายตัวในทุกกาลและเทศะ เช่น ประชาธิปไตยของท้องถิ่นหนึ่ง กับอีกท้องถิ่นหนึ่งจะมีนัยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้หรือผู้นิยาม ซึ่งแตกต่างกับวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้นิยามคำเฉพาะที่มีความหมายตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา และสถานที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น